วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2559

ถามตอบ

ถาม:ในดอกอัญชันสารที่พบคือสารอะไร?
ตอบ:สารแอนโทไซยานิน(Anthocyanins)
ถาม:ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของดอกอัญชันมีชื่อว่าอะไร?
ตอบ:Clitoriaternatea Linn.

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559

สารสำคัญที่พบ

1. แอนโธไซยานิน (Anthocyanins)
ดอกอัญชันประกอบด้วยสารแอนโธไซยานิน (anthocyanins) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ anthosหมายถึง ดอกไม้ และ kyanosหมายถึง สีน้ำเงิน สารนี้จัดที่เป็นสารประกอบในกลุ่มสารฟลาโวนอยด์ (flavonoids) และเป็นอนุพันธ์ของสาร flavyliumหรือ 2-phenylebenzopyryliumที่ให้สารสีม่วงหรือสีน้ำเงิน มีสูตรเคมี คือ C6C3C6 ประกอบด้วยส่วนแอนโธไซยานิดินของอะกลัยโคน (aglycone) เรียกว่า เดลฟินิดิน จับกับน้ำตาลที่เป็น D-glucose ด้วยพันธะ β-glycosidicและมักมีโมเลกุลของน้ำตาลเกาะที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 3
น้ำตาลที่จับกับ แอนโธไซยานิดินอาจเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เช่น ไซโรส (xylose), กาแลคโตส (galactose), และ กลูโคส (glucose) หรือน้ำตาลโมเลกุลคู่ เช่น รูติโนส (rutinose), โซโฟโรส (sophorose ) และ แซมบูไบออส (sambubiose)

แอนโธไซยานิน แบ่งเป็น 6 ชนิด โดยชนิด pelargonidinจะให้สีส้ม ชนิด cyanidinให้สีแดง และ ชนิด delphinidinให้สีม่วง

แอนโธไซยานินสามารถละลายได้ดีในน้ำ แต่ไม่ละลายในตัวทำละลายประเภทไม่มีขั้ว เช่น อะซิโตน (acetone), คลอโลฟอร์ม (chloroform) และ อีเทอร์ (ether) (เกียรติศักดิ์, 2535)(1)

2. สารฟลาโวนอยด์อื่นๆ (flavonols)
สารในกลุ่มฟลาโวนอยด์จัดเป็นสารประกอบฟีนอลิก (phenolic compound ) ทำหน้าที่เป็นรงควัตถุหรือสารสีในพืช เป็นสารที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ได้แก่ ฟลาโวน (flavones), ฟลาโวโนน (flavonones), ไอโซฟลาโวน (isoflavones), แคแทซิน (catechin), แอนโธไซยานิน (anthocyanins) และ ซาล์โคน (chalcones) ซึ่งมีมากกว่า 4,000 ชนิดที่พบในผัก ผลไม้ และเครื่องดื่ม (นันทยา, 2548)(2)

3. แร่ธาตุ
สีน้ำเงินของดอกอัญชันประกอบด้วยอิออนของโลหะ 2 ชนิด คือ เหล็ก และแมกนีเซียม ที่เป็นส่วนประกอบของสารแอนโธไซยานินและฟลาโวน

4. กรด
กรดมาโลนิก (malonic acid) เป็นส่วนหนึ่งที่พบในแอนโธไซยานินหลายชนิด มีหน้าที่รักษาสภาพรงควัตถุในเซลล์พืช โดยป้องกันสภาพความเป็นด่างที่อาจทำให้สีจางลง

นอกจากนั้น ยังพบสารอื่นๆ ได้แก่ เทอร์นาทิน (ternatins) (A3, B2, B4, C1, C5, D2,D3) และ พรีทอร์นาทิน (preternatins) (A4, C4)

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2559

" ข้อควรระวัง "


 " ข้อควรระวัง "


แม้ว่าดอกอัญชันจะเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์แต่ก็ยังมีโทษได้ ถ้าหากใช้ในปริมาณมากเกินไปโดยอย่าดื่มน้ำอัญชันที่มีสีเข้มมากเกินไปเพราะอาจทำให้ไตทำงานหนักมากขึ้น ในการขับสารสีจากอัญชันให้ออกมา ผู้ป่วยความดันสูงหรือต่ำก็ไม่ควรทานดอกอัญชันมากเกินไป เพราะอาจมีผลทำให้อาการกำเริบหรือหน้ามืดหมดสติได้ และผู้ที่ป่วยด้วยโรคโลหิตจาง ไม่ควรจะรับประทานดอกอัญชันรวมทั้งอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของอัญชันเพราะในดอกอัญชัน มีสารที่มีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด อาจทำให้เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโลหิตจางได้ กลีบเลี้ยงหรือขั้วของดอกอัญชัน มียางที่ทำให้คันคอ ควรเด็ดออกก่อนรับประทานแบบสดๆ เมล็ดอัญชันมีผลทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ ..

การปลูก

การปลูก

อัญชันเป็นพืชที่เติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ดินมีความชุ่มชื้นสูง แต่เป็นพืชที่ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี

อัญชันในธรรมชาติสามารถขยายพันธุ์ได้เองด้วยการเติบโตจากเมล็ด และหากต้องการขยายพันธุ์ในพื้นที่ว่างของตนเองสามารถทำได้โดยนำเมล็ดแก่มาหว่านโรยในบริเวณที่ต้องการ โดยจำเป็นต้องพรวนดิน และกำจัดวัชพืชบริเวณนั้นออกก่อน ซึ่งต้นอัญชันจะเริ่มให้ดอกได้เมื่ออายุประมาณ 4 เดือน


ประโยชน์ของอัญชัน



ประโยชน์ของอัญชัน
1. สารสกัดหรือน้ำคั้นจากดอกอัญชัน บ้านเรานิยมนำมาใช้มากสำหรับสารสีผสมอาหารที่ให้สีม่วง สีน้ำเงิน และสีครามสวยงาม อาหารที่ใช้ผสมส่วนมากจะเป็นขนม และอาหารหวานต่างๆ ได้แก่ ขนมชั้น ขนมน้ำดอกไม้ และอื่นๆ ส่วนต่างประเทศนิยมสกัดสารแอนโทไซยานินจากองุ่นที่เป็นสารชนิดเดียวกันในดอกอัญชันใช้เป็นสีผสมอาหาร ไวน์ และเครื่องดื่มชนิดต่างๆ

สีน้ำเงินจากดอกอัญชันในสภาวะที่เป็นกรดอ่อน (เติมน้ำมะนาว) จะให้สีม่วงแดง

2. ใช้เป็นส่วนผสมของครีมนวด และยาบำรุงผม เนื่องจากสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ แอนโทไซยานิน และแทนนนิน มีฤทธิ์กระตุ้นรากผม และบำรุงเส้นผม

3. ใช้เป็นส่วนผสมของยาย้อมผม เนื่องจากให้สีน้ำเงินหรือสีม่วงสดใส แต่สีจะไม่ติดทนนาน

4. คนโบราณ นิยมใช้ดอกอัญชันมาขยี้ทาหนังศรีษะทำให้ผมดกดำ ผมงอกใหม่มากขึ้น ป้องกันผมร่วง ใช้ทาคิ้วทำให้คิ้วหนาดำ

5. ดอกนำมาต้มทำน้ำย้อมผ้าได้หลายสี อาทิ สีม่วง สีน้ำเงิน สีชมพู ทำให้ได้สีผ้าสดใสเป็นธรรมชาติ

6. ดอก นิยมนำมาลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก ให้รสหวาน กรอบ อร่อย เนื่องจากมีสารประเภทน้ำตาลอยู่มาก นอกจากนั้น ยังนำมาปรุงอาหารในหลายเมนู อาทิ แกงอ่อม แกงเลียง ดอกอัญชันชุบแป้งทอด เป็นต้น

7. ดอก นำมาคั้นน้ำดื่มหรือที่เรียกว่า น้ำดอกอัญชัน หากเป็นสีน้ำเงินอาจเติมน้ำมะนาวเล็กน้อยเพื่อเปลี่ยนเป็นสีม่วง น้ำที่คั้นให้กรองเอาเฉพาะส่วนน้ำ เติมน้ำตาล และเกลือเล็กน้อยก็จะได้รสที่น่าดื่มขึ้น

8. ลำต้นอัญชันมีลักษณะเป็นเถายาว ตัดบางส่วนของต้นหรือกิ่งแขนงใช้ทำเป็นเชือกรัดสิ่งของ

9. ต้นอัญชันมีดอกสวยงาม สีสด บางครัวเรือนนอกจากจะปลูกเพื่อเป็นยาสมุนไพร และประกอบอาหารแล้ว ยังปลูกเพื่อเป็นไม้ดอกประดับตามริมรั่ว


สารแอนโธไซยานินทางเภสัชวิทยา

สารแอนโธไซยานินทางเภสัชวิทยา
1. ยับยั้งการเกิดโรคมะเร็ง (Anti-cancer)
แอนโธไซยานิน และโปรแอนโธไซยานินช่วยยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็ง โดยทำหน้าที่เป็นส่วน หนึ่งของเอนไซม์ quinine reductase ที่ช่วยยับยั้งกระบวนการสร้างเซลล์มะเร็งได้ นอกจากนี้ ยังพบว่า แอนโธไซยานินมีส่วนยับยั้งการสังเคราะห์ polyminde ที่เป็นสารที่พบมากในเซลล์มะเร็ง

2. ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ (Cardiovascular disease) (CVD)
แอนโธไซยานินจะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้ ด้วยเป็นสารป้องกันการเกิด oxidation ที่เป็นสาเหตุไขมันอุดตันในเส้นเลือด

3. เพิ่มความแข็งแรงของหลอดเลือด (Microcirculation)
สารแอนโธไซยานินมีส่วนช่วยลดความเปราะบางของเส้นเลือดฝอย และช่วยทำให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรงขึ้นได้ จึงมีการนำแอนโธไซยานินเป็นส่วนผสมของยาที่ใช้รักษาโรคที่เกิดจากเลือดไป เลี้ยงสมองหรือส่วนต่างๆไม่เพียงพอ

4. เพิ่มการมองเห็น (Improve Vision)
แอนโธไซยานินจะช่วยทำให้การมองเห็นตอนกลางคืนดีขึ้น ดังนี้
เพิ่มการสร้างสารสีในชั้นเรติน่า ทำให้มองเห็นสีที่ชัดเจนขึ้น
เพิ่มการไหลเวียนเลือดของเส้นเลือดภายในลูกตา

ยับยั้ง Maillard reaction ในเลนส์ตาทำให้ลดการเกิดต้อกระจก และช่วยป้องกันอัตรายจากรังสี UV

สรรพคุณดอกอัญชัน


สรรพคุณดอกอัญชัน
1. ดอก
ดอกอัญชันประกอบด้วยสารสำคัญในกลุ่มสารประกอบฟลาโวนอยด์หลายชนิดรวมกันที่มี สรรพคุณหลายด้าน อาทิ หลายอย่าง อาทิ ใช้ลดอาการปวด ใช้เป็นยาชา ช่วยลดไข้ ทำให้นอนหลัยง่าย ช่วยบำรุงสายตา ป้องกันโรคสายตาเสื่อม โรคต้อหิน และโรคต้อกระจก แก้อาการตาฟาง ตามัว ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยบำรุงเลือด ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด เพิ่มความแข็งแรงของหลอดเลือด ยับยั้งเกล็ดเลือด ลดความดันโลหิตสูง ช่วยคลายกล้ามเนื้อ ต้านเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ แผลอักเสบ ลดอาการบวมของแผล ต้านอาการภูมิแพ้ เสริมสร้างภูมิต้านทาน ต้านอนุมูลอิสระ และยับยั้งเซลล์มะเร็ง
ดอกอัญชันมีสารแอนโธไซยานินที่เป็นสารสีม่วงหรือสีน้ำเงิน มีคุณสมบัติเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ (antioxidant) ลดการเกิดโรคหัวใจ ยับยั้งเซลล์มะเร็ง ป้องกันเลือดออกในกล้ามเนื้อหัวใจ ต้านเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย ลดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และบำรุงสมอง
สารประกอบแอนโธไซยานิน มีส่วนประกอบของเหล็ก และแมกนีเซียม ช่วยบำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง
ดอกสด นำมาตำหรือบด และผสมน้ำเล็กน้อยสำหรับนวดชโลมผม มีฤทธิ์กระตุ้นรากผมให้งอกใหม่หรือมีรากผมใหม่เพิ่มขึ้น รวมถึงเสริมสร้างความแข็งแรงของเส้นผม


2. ราก
รากอัญชันมีรสขมเย็น ใช้กินสดหรือต้มน้ำดื่ม ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ยาระบาย ใช้บำรุงสายตา ลดตาอักเสบ ตาแฉะ ตาฟาง ลดไข้ แก้อาการปวดแสบปวดร้อน ลดอาการผิดปกติในเม็ดเลือดขาว ลดอาการอักเสบของหลอดลม บรรเทาอาการโรคหอบหืด และวัณโรคในปอด
รากอัญชันนำมาบดหรือฝนใช้ทารักษาแผล แผลอักเสบ รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน
รากดิบนำมาล้างน้ำให้สะอาด ใช้ขัดถูฟัน ช่วยให้ฟันแข็งแรง ต้านเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก และแก้ปวดฟัน

3. ใบ
ใบใช้นำมาบดประคบแผล ต้านอาการอักเสบของแผล หรือนำมาต้มดื่มหรือตากแห้งชงเป็นชาดื่ม ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ ต้านอนุมูลอิสระ และต้านเซลล์มะเร็ง

4. เมล็ด

เมล็ดนำมาบดชงน้ำดื่มหรือต้มน้ำดื่ม ใช้เป็นยาระบาย แต่มีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน จึงไม่นิยมใช้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
1. ราก และลำต้น

รากอัญชันประกอบด้วยระบบรากแก้ว รากแขนง และรากฝอย รากมีความลึกไม่มาก รากแขนงมักแทงขนานตามผิวดิน
อัญชัน เป็นไม้เลื้อย มีลำต้นยาวได้มากกว่า 3-5 เมตร ลำต้นมีขนาดเล็ก แตกแขนงเป็นกิ่งย่อยจำนวนมาก กิ่งอ่อนมีสีเขียว กิ่งแก่มีสีน้ำตาล แตกกิ่งสาขาจำนวนมาก และใช้ปลายยอดเลื้อยพันตามวัตถุที่เกาะได้

2. ใบ
ใบอัญชันแทงออกสลับกันตามข้อกิ่ง ใบมีลักษณะเรียวบาง ค่อนข้างกลม ปลายใบแหลม ฐานใบมน ยาวประมาณ 1.5-5 ซม. กว้างประมาณ 0.3-3 ซม. ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบยาวประมาณ 1.5-3 ซม. หนึ่งก้านใบ มีใบย่อยประมาณ 5-7 ใบ ออกเป็นคู่คนละข้าง 2-3 คู่ ใบย่อยสุดท้ายเป็นใบเดี่ยวอยู่เหนือสุด
 3. ดอก
ดอกอัญชันแทงออกบริเวณปลายยอดตามซอกใบที่ข้อกิ่ง ดอกเป็นดอกเดี่ยว มี 3 ชนิด คือ ดอกสีขาว สีม่วง และน้ำเงิน ปัจจุบันมีการกลายพันธุ์เป็นหลายสี เช่น สีเหลือง สีชมพู และสีคราม ดอกมีทั้งดอกชั้นเดียว และดอกบิดซ้อนกัน ดอกมีลักษณะคล้ายดอกถั่วหรือฝาหอยเซลล์ กลีบดอกยาวประมาณ 4-9 ซม. กลีบเลี้ยงยาว 1.7-2.2 ซม. มีขนปกคลุมเล็กน้อย
























4. ฝัก และเมล็ด
ผลมีลักษณะเป็นฝักแบนเหมือนฝักถั่วยาว แต่สั้น และแบนกว่า ยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร กว้าง 0.5-1.2 เซนติเมตร ฝักอ่อนมีสีเขียว สีเขียวเข้ม สีเหลือง สีน้ำตาล และน้ำตาลเข้มจนถึงดำ ตามอายุของฝัก
เมล็ด มีลักษณะเป็นรูปวงรีคล้ายไต ฝักแต่ละฝักมีเมล็ดมากกว่า 10 เมล็ด เมล็ดอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่มีสีน้ำตาล และสีดำตามลำดับ บางเมล็ดอาจมีลาย เมล็ดยาวประมาณ 4.5-7 มิลลิเมตร กว้างประมาณ 3-4 มิลลิเมตร










ลักษณะทางพฤกษศาสตร์


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
1. ราก และลำต้น
รากอัญชันประกอบด้วยระบบรากแก้ว รากแขนง และรากฝอย รากมีความลึกไม่มาก รากแขนงมักแทงขนานตามผิวดิน




อัญชัน เป็นไม้เลื้อย มีลำต้นยาวได้มากกว่า 3-5 เมตร ลำต้นมีขนาดเล็ก แตกแขนงเป็นกิ่งย่อยจำนวนมาก กิ่งอ่อนมีสีเขียว กิ่งแก่มีสีน้ำตาล แตกกิ่งสาขาจำนวนมาก และใช้ปลายยอดเลื้อยพันตามวัตถุที่เกาะได้
2. ใบ
ใบอัญชันแทงออกสลับกันตามข้อกิ่ง ใบมีลักษณะเรียวบาง ค่อนข้างกลม ปลายใบแหลม ฐานใบมน ยาวประมาณ 1.5-5 ซม. กว้างประมาณ 0.3-3 ซม. ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบยาวประมาณ 1.5-3 ซม. หนึ่งก้านใบ มีใบย่อยประมาณ 5-7 ใบ ออกเป็นคู่คนละข้าง 2-3 คู่ ใบย่อยสุดท้ายเป็นใบเดี่ยวอยู่เหนือสุด
3. ดอก
ดอกอัญชันแทงออกบริเวณปลายยอดตามซอกใบที่ข้อกิ่ง ดอกเป็นดอกเดี่ยว มี 3 ชนิด คือ ดอกสีขาว สีม่วง และน้ำเงิน ปัจจุบันมีการกลายพันธุ์เป็นหลายสี เช่น สีเหลือง สีชมพู และสีคราม ดอกมีทั้งดอกชั้นเดียว และดอกบิดซ้อนกัน ดอกมีลักษณะคล้ายดอกถั่วหรือฝาหอยเซลล์ กลีบดอกยาวประมาณ 4-9 ซม. กลีบเลี้ยงยาว 1.7-2.2 ซม. มีขนปกคลุมเล็กน้อย
















4. ฝัก และเมล็ด
ผลมีลักษณะเป็นฝักแบนเหมือนฝักถั่วยาว แต่สั้น และแบนกว่า ยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร กว้าง 0.5-1.2 เซนติเมตร ฝักอ่อนมีสีเขียว สีเขียวเข้ม สีเหลือง สีน้ำตาล และน้ำตาลเข้มจนถึงดำ ตามอายุของฝัก

เมล็ด มีลักษณะเป็นรูปวงรีคล้ายไต ฝักแต่ละฝักมีเมล็ดมากกว่า 10 เมล็ด เมล็ดอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่มีสีน้ำตาล และสีดำตามลำดับ บางเมล็ดอาจมีลาย เมล็ดยาวประมาณ 4.5-7 มิลลิเมตร กว้างประมาณ 3-4 มิลลิเมตร

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clitoria ternatea Linn.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clitoria ternatea Linn.
วงศ์ : Leguminosea
ตระกูล : Leguminosae
ตระกูลย่อย : Papilionoideae
ถิ่นกำเนิด : ประเทศอินเดีย ปานามา และหมู่เกาะโมลุกกะ
ชื่อสามัญ : Clitoria, Butterfly Pea และ Blue Pea
ชื่อไทยพื้นเมือง : ทุกภาคเรียก อัญชัน บางพื้นที่เรียก อังจัน แดงชัน และเอื้องชัน

ต่างประเทศ : สากลเรียกตามชื่อสามัญ ประเทศซูดาน เรียก kordofan pea, ประเทศบราซิล เรียก cunha (Brazil), ประเทศฟิลิปปินส์ เรียก pokindang
ดอกอัญชัน
อัญชัน (Butterfly Pea) จัดเป็นพืชผัก และพืชสมุนไพรประเภทไม้เลื้อยที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน เนื่องจากประกอบด้วยสารเคมีที่มีสรรพคุณทางยาหลายด้าน โดยเฉพาะส่วนดอก เช่น ฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง ต้านสารอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย เป็นต้น