วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2559

สารสำคัญที่พบ

1. แอนโธไซยานิน (Anthocyanins)
ดอกอัญชันประกอบด้วยสารแอนโธไซยานิน (anthocyanins) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ anthosหมายถึง ดอกไม้ และ kyanosหมายถึง สีน้ำเงิน สารนี้จัดที่เป็นสารประกอบในกลุ่มสารฟลาโวนอยด์ (flavonoids) และเป็นอนุพันธ์ของสาร flavyliumหรือ 2-phenylebenzopyryliumที่ให้สารสีม่วงหรือสีน้ำเงิน มีสูตรเคมี คือ C6C3C6 ประกอบด้วยส่วนแอนโธไซยานิดินของอะกลัยโคน (aglycone) เรียกว่า เดลฟินิดิน จับกับน้ำตาลที่เป็น D-glucose ด้วยพันธะ β-glycosidicและมักมีโมเลกุลของน้ำตาลเกาะที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 3
น้ำตาลที่จับกับ แอนโธไซยานิดินอาจเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เช่น ไซโรส (xylose), กาแลคโตส (galactose), และ กลูโคส (glucose) หรือน้ำตาลโมเลกุลคู่ เช่น รูติโนส (rutinose), โซโฟโรส (sophorose ) และ แซมบูไบออส (sambubiose)

แอนโธไซยานิน แบ่งเป็น 6 ชนิด โดยชนิด pelargonidinจะให้สีส้ม ชนิด cyanidinให้สีแดง และ ชนิด delphinidinให้สีม่วง

แอนโธไซยานินสามารถละลายได้ดีในน้ำ แต่ไม่ละลายในตัวทำละลายประเภทไม่มีขั้ว เช่น อะซิโตน (acetone), คลอโลฟอร์ม (chloroform) และ อีเทอร์ (ether) (เกียรติศักดิ์, 2535)(1)

2. สารฟลาโวนอยด์อื่นๆ (flavonols)
สารในกลุ่มฟลาโวนอยด์จัดเป็นสารประกอบฟีนอลิก (phenolic compound ) ทำหน้าที่เป็นรงควัตถุหรือสารสีในพืช เป็นสารที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ได้แก่ ฟลาโวน (flavones), ฟลาโวโนน (flavonones), ไอโซฟลาโวน (isoflavones), แคแทซิน (catechin), แอนโธไซยานิน (anthocyanins) และ ซาล์โคน (chalcones) ซึ่งมีมากกว่า 4,000 ชนิดที่พบในผัก ผลไม้ และเครื่องดื่ม (นันทยา, 2548)(2)

3. แร่ธาตุ
สีน้ำเงินของดอกอัญชันประกอบด้วยอิออนของโลหะ 2 ชนิด คือ เหล็ก และแมกนีเซียม ที่เป็นส่วนประกอบของสารแอนโธไซยานินและฟลาโวน

4. กรด
กรดมาโลนิก (malonic acid) เป็นส่วนหนึ่งที่พบในแอนโธไซยานินหลายชนิด มีหน้าที่รักษาสภาพรงควัตถุในเซลล์พืช โดยป้องกันสภาพความเป็นด่างที่อาจทำให้สีจางลง

นอกจากนั้น ยังพบสารอื่นๆ ได้แก่ เทอร์นาทิน (ternatins) (A3, B2, B4, C1, C5, D2,D3) และ พรีทอร์นาทิน (preternatins) (A4, C4)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น